ภาวะเส้นประสาททิเบียส่วนปลายถูกกดทับ
(TARSAL
TUNNEL SYNDROME)
พันโทนายแพทย์ชำนาญนิติ์
รุ้งพราย
นายแพทย์ธนะรัชต์
เหมพงศ์พันธ์
บทนำ (Introduction)
ภาวะเส้นประสาททิเบียส่วนปลายถูกกดทับ
(Tarsal
tunnel syndrome (TTS)) คือ กลุ่มโรคที่เกิดจากเส้นประสาท
Posterior tibial หรือแขนงของเส้นประสาทเส้นนี้ ถูกกดทับ ที่ตำแหน่ง
tarsal tunnel ซึ่งได้ถูกกล่าวไว้ครั้งแรกตั้งแต่ช่วง 19601 สาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุด
คือ ไม่มีสาเหตุ (Idiopathic
cause) ส่วนที่สามารถระบุสาเหตุได้ เช่น การเกิดอุบัติเหตุ2
การอักเสบ2
เท้าผิดรูป3
การหนาตัวของ Laciniate ligament ก้อนที่กดทับต่อเส้นประสาท
(space-occupying
lesion) เส้นเลือดดำที่มีขนาดใหญ่ (venous plexus
engorgement)4, 5 แม้ว่าชื่อจะคล้ายและมักถูกเปรียบเทียบกับ
Carpal tunnel syndrome ในความเป็นจริงแล้ว Tarsal tunnel
syndrome นั้น พบในอุบัติการณ์ที่น้อยกว่ามาก
ลักษณะทางกายวิภาค
(Anatomy)
Tarsal tunnel คือ อุโมงค์ ที่อยู่ด้านหลัง medial malleolus โดยจะติดต่อจาก
deep fascia ของ leg และจะมี เส้นประสาททิเบีย
เส้นเลือดแดงและเส้นเลือดดำ วิ่งลอดใต้อุโมงค์นี้ ขอบเขตของ tarsal tunnel ประกอบด้วย3
หลังคา (Roof) คือ laciniate ligament or flexor retinaculum
ผนังทางด้านหน้า (Anterior
wall) คือ medial malleolus
ผนังทางด้านข้าง (Lateral
wall) คือ calcaneus and sustentaculum tali
พื้น (Floor)
คือ lateral wall of calcaneus
โดยมีอวัยวะที่ผ่านเข้ามาในอุโมงค์นี้
ได้แก่
Posterior tibial tendon, Flexor digitorum longus tendon, Posterior tibial
artery/vein/nerve, Flexor hallucis longus tendon ตามลำดับจากหน้าไปหลัง(2)
ส่วนเส้นประสาท posterior
tibial จะแตกแขนงออกสามเส้นหลัก (รูปที่ 1)
โดยเส้นแรก คือ เส้นประสาท medial calcaneal branch ซึ่งมักจะแตกแขนงออกมาก่อนเข้าตำแหน่ง Tarsal tunnel
ร้อยละ 35 แตกแขนงในตำแหน่ง
tarsal tunnel ร้อยละ 34 และแตกแขนงออกจาก
lateral plantar nerve ร้อยละ 16
ส่วนการแตกแขนงของ medial และ lateral plantar nerve จะแตกแขนงก่อนเข้า tarsal tunnel ร้อยละ 7 และ แตกแขนงใน tarsal tunnel ร้อยละ 933 ซึ่งเชื่อว่าเป็นปัจจัยให้เกิด
tarsal tunnel syndrome ได้ เนื่องจากเส้นประสาท 2 เส้น จะมีปริมาตร (volume) ที่มากกว่า จึงทำให้มีโอกาสถูกกดมากกว่ากลุ่มที่เส้นประสาทแตกก่อนเข้า tarsal
tunnel เนื่องจากปริมาตรของเส้นประสาทจะลดลง
เพราะเส้นประสาทที่แตกออกไปก่อนนอกตำแหน่ง tarsal tunnel(8, 9)
ประวัติและการตรวจร่างกาย (HISTORY
AND PHYSICAL EXAMINATION)
คนไข้มักจะให้ประวัติอาการปวดแบบแสบร้อน
(burning pain)
หรือปวดร้าวคล้ายไฟฟ้าช็อต (tingling pain) มีอาการชา
(paresthesia) มีระดับความรู้สึกที่ลดลง (dysesthesia) ตามแนวเส้นประสาท posterior tibial และแขนง อาการปวดร้าว
รวมไปถึงรู้สึกไม่สบายเท้า โดยมากอาการจะเป็นมากขึ้น เวลายืนหรือเดิน
เป็นระยะเวลานานหรือระหว่างทำกิจกรรม หรือขณะใส่รองเท้ารัดส้นเท้า และจะดีขึ้นเมื่อได้พักการใช้งาน6
อย่างไรก็ตามผู้ป่วยบางรายอาจจะมีอาการเป็นมากในช่วงกลางคืน และพบถึง 1 ใน 3 ของคนไข้ว่ามีอาการปวดร้าวจากบริเวณ tarsal tunnel ขึ้นไปบริเวณน่อง
(Valleix
phenomenon) และอาจจะมีตำแหน่งการเจ็บเป็นจุดๆ ตามแนวเส้นประสาทได้ เชื่อว่าเกิดจาก
neuralgia
การวินิจฉัยแยกโรคภาวะเส้นประสาททิเบียส่วนปลายถูกกดทับ
(differential diagnosis) ได้แก่ กลุ่มโรคที่ทำให้เกิด
plantar heel pain หรือ inferior heel pain ซึ่งได้แก่
plantar fasciitis, calcaneal stress fracture, heel (fat pad) pad atrophy
รวมไปถึง diabetes, rheumatologic conditions7, 8
และ lumbosacral
(LS) radiculopathy พบว่าอาการแสดงของทั้ง LS radiculopathy และ tarsal tunnel syndrome สองภาวะนี้ใกล้เคียงกันมาก
และพบได้ร่วมกันถึงประมาณร้อยละ 4.8 เรียกว่า Double
Crush Syndrome/Phenomenon (proximal and distal compression) หรือภาวะถูกกดทับทั้งด้านบนและล่าง.9
การตรวจร่างกาย เพื่อหาสาเหตุของการกดทับเส้นประสาท
ต้องเริ่มตั้งแต่ในท่ายืน เพื่อดูแนวด้านหลังของกระดูกส้นเท้า (hindfoot
alignment) เนื่องจาก heel ผิดรูป ทั้ง varus
และ valgus เป็นสาเหตุของ tarsal
tunnel syndrome ได้ โดยที่ vaglus จะทำให้มีการเบียด
(tension)
ในขณะที่ heel varus มักจะทำให้เกิดการกดทับ (compression) ต่อเส้นประสาทบริเวณตาตุ่มด้านในได้
การคลำเพื่อหาก้อนต่างๆ รวมถึง การอักเสบปวดบวม บริเวณข้อเท้าด้านใน
การตรวจ กดเจ็บตามแนวเส้นประสาททิเบีย
(tenderness along tibial nerve) ทำการกดเส้นประสาท tibia ที่ตำแหน่ง tarsal tunnel ผลเป็นบวกเมื่อเกิดอาการปวดร้าวตามแนวเส้นประสาท
tibia ไปยังฝ่าเท้าหรือนิ้วเท้า
การตรวจ
การปวดร้าวตามเส้นประสาทระหว่างเคาะเส้นประสาท (Tinel sign) โดยการเคาะตรงตำแหน่งของเส้นประสาททั้งในท่า heel neutral และ heel valgus เพื่อเพิ่ม sensitivity ของการตรวจ
การตรวจ provocative test อื่นๆ
เช่น Dorsiflexion-Eversion Test เป็นต้น การตรวจ
sensory โดยการใช้ Semmes Weinstein monofilament เพื่อหาตำแหน่งของแขนงประสาทที่มีอาการ ส่วนการตรวจ motor ของ intrinsic muscle weakness นั้นอาจจะไม่ชัดเจน ยกเว้นในบางมัดเช่น
abductor digiti quinti muscle อาจจะพอแยกได้เมื่อเทียบกับเท้าฝั่งตรงข้าม10
สำหรับการตรวจร่างกายที่เราให้ความสนในเป็นพิเศษ
คือ กดเจ็บแล้วมีการร้าวไปตามเส้นประสาท calcaneal, medial, หรือ lateral plantar nerve และ Tinel test เป็นบวก โดยปัจจุบันเชื่อ
การตรสจร่างกายทั้งสองอย่างมากที่สุดและเชื่อว่าการวินิจฉัยเป็น clinical
diagnosis มากกว่าการใช้ investigation
DIAGNOSTIC STUDIES (การส่งตรวจในห้องปฏิบัติการ)
เอกซเรย์ภาพเท้าและข้อเท้า
เพื่อแยกโรคที่มีความผิดปกติที่กระดูก เช่น fracture, bone spur,
arthritis การทำ ultrasound
พบว่ามีประโยชน์ในแง่ของการวินิจฉัยหากมีก้อนที่ข้อเท้า แต่มีข้อเสีย
คือ operator dependent ในกรณีที่ตรวจพบหรือสงสัยว่ามี
space-occupying lesion แนะนำให้ทำ MRI เนื่องจากให้รายละเอียดได้มากว่าและมีความแม่นยำมากกว่าโดยเฉพาะก้อนที่มีขนาดเล็ก
ซึ่งในบางการศึกษาพบว่าการทำ MRI ใน TTS พบความผิดปกติของ tarsal tunnel volume ถึงร้อยละ 8511
การตรวจคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อและเส้นประสาท
(EMG) มีประโยชน์มากในปัจจุบัน สามารถตรวจเพื่อยืนยันการวินิจฉัย
และการตรวจเพื่อวินิจฉัยแยกโรคอื่นๆ จาก tarsal tunnel syndrome เช่น radiculopathy หรือ peripheral
neuropathy อย่างไรก็ดี ยังไม่มีการศึกษาที่ชัดเจนเพื่อจะรองรับคุณภาพทั้งในแง่ของ
reliability และ reproducibility เนื่องจากการตรวจคลื่นไฟฟ้ามีหลากหลายเทคนิค
และมี operator dependent เช่นเดียวกัน11อย่างไรก็ตาม
หากผลการตรวจเป็นลบ ไม่สามารถบอกได้ว่า ผู้ป่วยไม่เป็นภาวะนี้
แต่หากผลการตรวจเป็นบวก จะช่วยยืนยันภาวะนี้ได้
โดยสรุปแล้ว
เราจะใช้ clinical diagnosis (tenderness
on palpation along tibial nerve และ positive Tinel sign) รวมกับ positive EMG เพื่อทำให้เรามั่นใจในการวินิจฉัยภาวะ
tarsal tunnel syndromeมากยิ่งขึ้น
การรักษา
(TREATMENT)
การรักษาแบบประคับประคอง
(NONSURGICAL TREATMENT)
กรณีที่ไม่มี
space-occupying lesion มักจะเริ่มจาก NSAIDs, vitamin B1,
vitamin B12 และยากลุ่ม TCAs และ gabapentin
สามารถลดอาการได้ หากผู้ป่วยมีอาการปวดมาก การ
immobilization โดยการใช้ แผ่นรองเท้า, cast, walking boot, หรือ orthotic device อื่นๆ สามารถลดอาการปวดได้
การใช้ยา steroid injection อาจจะได้ประโยชน์ในบางรายที่มีอาการอักเสบของเส้นประสาทและมีการอักเสบของเส้นเอ็นรอบๆ
ร่วมด้วย อย่างไรก็ตาม ยังไม่เป็นที่ชัดเจนถึงประโยชน์ของการฉีด ในกลุ่มคนไข้ tarsal
tunnel syndrome นอกจากนี้ยังมี physiotherapy ต่างๆ เช่น topical agents, nerve reliever และ
iontophoresis มีรายงานถึงปัจจัยที่มักจะทำให้การ
conservative treatment ไม่ประสบความสำเร็จ ได้แก่ longer
motor nerve conduction latency (7.4ms or greater) และ มีรูปเท้าที่ผิดปกติ
foot comorbidities.12
การรักษาด้วยการผ่าตัด
(SURGICAL TREATMENT)
ปัจจัยสำคัญที่จะรักษาด้วยการผ่าตัดให้ได้ผลดี
คือ patient
selection ที่เหมาะสม รวมถึงทั้งการตรวจร่างกายและการส่งตรวจ
investigation เช่น MRI, EMG/NCV ที่ผิดปกติ13
มีแนวโน้มที่จะได้ผลการรักษาที่ดี และระยะเวลาในการผ่าตัด คือ หากมีอาการและมารับการผ่าตัดภายใน
12
เดือน
ข้อบ่งชี้ของการรักษาโดยวิธีการผ่าตัด
คือ ล้มเหลวจากการรักษาโดยวิธีไม่ผ่าตัด รวมถึงพบ
space-occupying lesion ที่คาดว่าน่าจะเป็นสาเหตุให้เกิดอาการ tarsal
tunnel syndrome เช่น lipoma, ganglion cyst และ
varicose veins ซึ่งมีการเบียดต่อเส้นประสาท การผ่าตัดจะเป็นการลดแรงกดทับโดยตรง
การผ่าตัดในภาวะเท้าผิดรูป เนื่องจากเท้าที่ผิดรูปไปทำให้เกิดความผิดปกติต่อเส้นประสาท
ก็สมควรได้รับการแก้ไข ไม่ว่าจะเป็น hindfoot instability, calcaneal
malunion with bone spurs เป็นต้น และวิธีการผ่าตัดเปิดตำแหน่งtarsal
tunnel (tarsal tunnel release) แสดงดังรูปที่ 2
สิ่งที่ต้องสนใจขณะผ่าตัด
คือกายวิภาคของ tarsal tunnel เริ่มจาก flexor
retinaculum ที่อยู่ด้านบน จากนั้นเนื่องจากอุโมงค์ของเส้นประสาทมีหลายช่องจึงต้องแยกออกเป็นอุโมงค์ของแขนงเส้นประสาทแต่ละเส้น
ได้แก่ medial calcaneal nerve tunnel, lateral plantar nerve tunnel, และ medial plantar nerve tunnel ซึ่งต้องทำการผ่าตัด
surgical release ทั้ง 3 tunnels (รูปที่ 2)
รวมถึงการผ่าตัด excision of the septum ระหว่าง
medial และ lateral plantar nerve tunnels จะช่วยลดแรงดันต่อเส้นประสาทได้เป็นอย่างดี
มีการศึกษาที่ชี้ให้เห็นว่า position ของเท้าและข้อเท้ามีผลต่อแรงดันต่อเส้นประสาทภายใน
medial และ lateral plantar nerve tunnels ซึ่งท่าที่ทำให้เกิดแรงดันมากที่สุดคือ
pronation และ plantarflexion ซึ่งลดลงเป็นอย่างมากหลังผ่าตัด
tarsal tunnel release และ excision of the septum ส่วนในการดูแลหลังการผ่าตัด สามารถเดินลงน้ำหนักได้ทันที
โดยใช้ bulky cotton dressing ซึ่งจะเอาออกที่ประมาณ 1-2 สัปดาห์โดยส่วนมากคนไข้ 93% ให้ความพึงพอใจต่อการรักษา อยู่ในกลุ่ม good to excellent ปัจจุบันมีรายงานถึง endoscopic release และ
short-term follow-up ก็ได้ผลการรักษาที่ดีไม่แตกต่างกัน
มีรายงานถึงผลการรักษาในกลุ่มที่ได้รับการผ่าตัดเพื่อตัด
benign space-occupying lesion จำนวน 20 ราย ก้อนที่พบมากที่สุดคือ ganglion
cyst รองลงมาคือ synovial chondromatosis, schwannoma และ tarsal coalition ตามลำดับ คะแนนอาการเจ็บปวด (Visual Analog Scale) และ
American Orthopaedic Foot and Ankle Society (AOFAS) scores ดีขึ้นอย่างชัดเจนหลังได้นับการรักษาด้วยการผ่าตัด
อย่างไรก็ดี การเลือกคนไข้ที่จะผ่าตัดก็มีความจำเป็นเพราะอาจจะได้ผลการรักษาที่ไม่แน่นอน
โดยเฉพาะในกลุ่มคนไข้ที่อายุมาก(60-80ปี), เคยมีอุบัติเหตุ เคยได้รับการผ่าตัดหรือมีรอยแผลเป็นบริเวณ tarsal
tunnel, คนไข้ที่เป็น idiopathic cause และคนไข้ที่มีปัญหาทางจิตเวช
การผ่าตัดซ้ำในกลุ่ม
recurrence tarsal tunnel syndrome คือ revision surgery จะได้ผลการรักษาที่แย่กว่ากลุ่มที่ผ่าตัดครั้งแรกอย่างชัดเจน โดยสาเหตุที่ต้องผ่าตัดซ้ำมากที่สุดคือ
inadequate release ไม่ว่าจะเป็นเพราะ ไม่รู้จักกายวิภาคของบริเวณนี้อย่างชัดเจน, ไม่มีการห้ามเลือดเป็นอย่างดีทำให้เกิด scar
หลังการผ่าตัด และรวมไปถึงการทำอันตรายต่อตัวเส้นประสาทขณะผ่าตัด ซึ่งต้องหาสาเหตุของการรักษาที่ไม่ประสบความสำเร็จในแต่ละรายเพื่อแนวทางการรักษาที่ถูกต้องต่อไป14
บทสรุป (CONCLUSION)
Tarsal tunnel syndrome
เป็นภาวะที่พบต้องใส่ใจเป็นพิเศษ หากไม่นึกถึงขณะตรวจอาจจะทำให้เกิดการวินิจฉัยคลาดเคลื่อนได้จากภาวะรองช้ำซึ่งมีอุบัติการณ์มากกว่ามากๆ
อาการและอาการแสดงของโรคนี้ เป็นไปได้หลายแบบและอยู่ในกลุ่ม
inferior heel pain การตรวจ EMG ก็จะมีส่วนช่วยในการยืนยันการวินิจฉัยและการแยกโรคอื่นๆ
การรักษาต้องพิจารณาในผู้ป่วยแต่ละรายได้ ซึ่งการรักษามักจะเริ่มต้นโดยการไม่ผ่าตัด
ส่วนในกรณีที่ต้องผ่าตัด แพทย์ผู้ทำการผ่าตัดต้องเข้าใจถึงกายวิภาคและจุดสำคัญในการผ่าตัดเป็นอย่างดี
เพื่อให้ผลการรักษามีประสิทธิภาพสูงที่สุด
REFERENCES
(เอกสารอ้างอิง)
1. Kopell
HP, Thompson WA. [Peripheral entrapment neuropathies of the lower extremity]. N
Engl J Med. 1960 Aug 14;262:56-60.
2. Cimino WR. Tarsal tunnel syndrome: review of the literature.
Foot Ankle. 1990 Aug;11(1):47-52.
3. Lau JT, Daniels TR. Tarsal tunnel syndrome: a review of the
literature. Foot Ankle Int. 1999 Mar;20(3):201-9.
4. Gondring WH, Shields B, Wenger S. An outcomes analysis of
surgical treatment of tarsal tunnel syndrome. Foot Ankle Int. 2003
Jul;24(7):545-50.
5. Baba H, Wada M, Annen S, Azuchi M, Imura S, Tomita K. The
tarsal tunnel syndrome: evaluation of surgical results using multivariate
analysis. Int Orthop. 1997;21(2):67-71.
6. Kaplan PE, Kernahan WT, Jr. Tarsal tunnel syndrome: an
electrodiagnostic and surgical correlation. J Bone Joint Surg Am. 1981 Jan;63(1):96-9.
7. Saggini R, Migliorini M, Carmignano SM, Ancona E, Russo C,
Bellomo RG. Inferior heel pain in soccer players: a retrospective study with a
proposal for guidelines of treatment. BMJ Open Sport Exerc Med.
2018;4(1):e000085.
8. Allam AE, Chang KV. Plantar Heel Pain. StatPearls. Treasure Island (FL)2019.
9. Zheng C, Zhu Y, Jiang J, Ma X, Lu F, Jin X, et al. The
prevalence of tarsal tunnel syndrome in patients with lumbosacral
radiculopathy. Eur Spine J. 2016 Mar;25(3):895-905.
10. Pomeroy G, Wilton J, Anthony S. Entrapment neuropathy about
the foot and ankle: an update. J Am Acad Orthop Surg. 2015 Jan;23(1):58-66.
11. Lareau CR, Sawyer GA, Wang JH, DiGiovanni CW. Plantar and
medial heel pain: diagnosis and management. J Am Acad Orthop Surg. 2014
Jun;22(6):372-80.
12. Gondring WH, Trepman E, Shields B. Tarsal tunnel syndrome:
assessment of treatment outcome with an anatomic pain intensity scale. Foot
Ankle Surg. 2009;15(3):133-8.
13. Oh SJ, Sarala PK, Kuba T, Elmore RS. Tarsal tunnel syndrome: electrophysiological
study. Ann Neurol. 1979 Apr;5(4):327-30.
14. McSweeney SC, Cichero M. Tarsal tunnel
syndrome-A narrative literature review. Foot (Edinb). 2015 Dec;25(4):244-50.