โรครองช้ำหรือพังผืดใต้ฝ่าเท้าอักเสบ
(Plantar fasciitis)
โรครองช้ำหรือพังผืดใต้ฝ่าเท้าอักเสบ ชื่อ ภาษาอังกฤษเรียกว่า plantar fasciitis ถือเป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุด ที่ทำให้เกิดอาการปวดใต้ฝ่าเท้า (Inferior or plantar heel pain) โรคนี้มีสาเหตุ มาจากหลายปัจจัย (multifactorial) เช่น น้ำหนักตัวมาก อายุมากขึ้น ยืนทำงานนานๆ การใส่รองเท้าที่ไม่เหมาะสม และเอ็นร้อยหวายตึง เป็นต้น
พยากรณ์ของโรค
โดยปกติแล้ว โรคนี้จะมีอาการดีขึ้นเองได้สูงถึง 80-90% ในระยะเวลาเฉลี่ย ประมาณ 10 เดือน ซึ่งผู้ป่วยจะต้องใจเย็นและอดทนในการออกกำลังกายอาการถึงจะดีขี้น
การวินิจฉัย
ใช้ประวัติและการตรวจร่างกายเป็นตัวช่วยในการวินิจฉัยเป็นสำคัญ
ผู้ป่วยจะมีอาการปวดมาก เหมือนมีอะไรมาทิ่มหรือแทงที่ผ่าเท้า เมื่อลงเดิน 2-3 ก้าวแรกหลังจากตื่นนอน (start-up pain) แต่เมื่อเดินไปสักพักอาการปวดจะดีขึ้น เนื่องจากขณะนอนในตอนกลางคืน ข้อเท้าจะอยู่ในท่ากระดกลง (plantar flexion) ทำให้เอ็นใต้ผ่าเท้าหย่อน จึงทำให้ฝังผืดเกิดการหดและยึดในระหว่างการนอน แต่พอผู้ป่วยลุกขึ้นเดินในตอนเช้าก้าวแรก ฝังผืดจะถูกยืดหรือถูกกระชากอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดอาการปวดที่ผ่าเท้า หรืออาการปวดอาจจะเกิดจากการนั่งเป็นเวลานานๆ ในระหว่างวัน ได้เช่นกัน
การตรวจร่างกายก็จะพบว่ากดเจ็บตรงตำแหน่งจุดเกาะของฝังผืดใต้ฝ่าเท้า (plantar medial tubercle) ในผู้ป่วยบางรายก็จะตรวจพบว่ามีเอ็นร้อยหวายตึงด้วย
การตรวจทางรังสี ในผู้ป่วยบางรายที่ได้ถ่ายภาพรังสีของข้อเท้า อาจจะตรวจพบกระดูกงอกขึ้นมาใต้ผ่าเท้า (calcaneal spur) ซึ่งโดยปกติก็จะพบได้ 33% คนทั่วไป และอาจจะพบสูงถึง 80% ในผู้ป่วยที่ปวดฝ่าเท้า (inferior heel pain) และพบได้สูงถึง 89% ในผู้ป่วยที่เป็นโรคผังผืดใต้ฝ่าเท้าอักเสบ ผู้หญิงพบได้มากกว่าผู้ชาย โดยสาเหตุที่เกิดมาจากหลายปัจจัย (multifactorial in etiology) โดยมีเรื่องน้ำหนักตัวที่มากและการยืนนาน เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดกระดูกงอก
จุดกดเจ็บจะอยู่ตรงบริเวณส้นเท้า
การรักษาแบ่งได้เป็น 2 ประเภท
1. การรักษาโดยการไม่ผ่าตัด (Nonsurgical Treatment)
การรักษาโดยการไม่ผ่าตัด ประกอบด้วย
การยืดพังผืดใต้เท้า (plantar fascia) ซึ่งวิธีนี้ถือเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมาก โดยให้ผู้ป่วย ยกเท้าที่มีอาการปวดไปวางไว้บนเข่าของข้างที่ไม่ปวด (ท่านั่งไขว่ห้าง) หลังจากนั้นให้ใช้ ฝ่ามือข้างเดียวกับเท้าที่ปวดดึงนิ้วเท้าทุกนิ้วขึ้น (กระดกนิ้วเท้า) จนผังผืดใต้ผ่าเท้าตึง โดยให้ใช้นิ้วมืออีกข้าง จับทดสอบที่ผังผืดใต้ผ่าเท้าว่าตึงหรือไม่ หากทำถูกผังผืดใต้ผ่าเท้าจะตึง หรือทำให้เกิดอาการปวด ให้ผู้ป่วยดึงค้างไว้ 10 วินาที โดยให้นับ 1 ถึง 10 อาจจะทำร่วมกับใช้มืออีกข้างนวดที่ผ่าเท้าร่วมไปด้วยก็ได้ หลังจากนั้นให้ปล่อยมือที่ดึงนิ้วเท้าลง สัก 3 ถึง 5 วินาที หลังจากนั้นก็ทำแบบเดิมซ้ำอีก โดยให้ทำซ้ำ 20 ครั้ง ในช่วงเวลาหลังตื่นนอนทันที หรือระหว่างวันหากมีการพักเท้าเป็นเวลานานหรือนอนตอนกลางวัน
การยืดพังผืดใต้ฝ่าเท้า
https://youtu.be/YDXFuM0AqXU
การยืดพังผืดใต้เท้า (plantar fascia) ซึ่งวิธีนี้ถือเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมาก โดยให้ผู้ป่วย ยกเท้าที่มีอาการปวดไปวางไว้บนเข่าของข้างที่ไม่ปวด (ท่านั่งไขว่ห้าง) หลังจากนั้นให้ใช้ ฝ่ามือข้างเดียวกับเท้าที่ปวดดึงนิ้วเท้าทุกนิ้วขึ้น (กระดกนิ้วเท้า) จนผังผืดใต้ผ่าเท้าตึง โดยให้ใช้นิ้วมืออีกข้าง จับทดสอบที่ผังผืดใต้ผ่าเท้าว่าตึงหรือไม่ หากทำถูกผังผืดใต้ผ่าเท้าจะตึง หรือทำให้เกิดอาการปวด ให้ผู้ป่วยดึงค้างไว้ 10 วินาที โดยให้นับ 1 ถึง 10 อาจจะทำร่วมกับใช้มืออีกข้างนวดที่ผ่าเท้าร่วมไปด้วยก็ได้ หลังจากนั้นให้ปล่อยมือที่ดึงนิ้วเท้าลง สัก 3 ถึง 5 วินาที หลังจากนั้นก็ทำแบบเดิมซ้ำอีก โดยให้ทำซ้ำ 20 ครั้ง ในช่วงเวลาหลังตื่นนอนทันที หรือระหว่างวันหากมีการพักเท้าเป็นเวลานานหรือนอนตอนกลางวัน
การยืดพังผืดใต้ฝ่าเท้า
https://youtu.be/YDXFuM0AqXU
การยืดเอ็นร้อยหวาย (Stretching of calf muscle) ในผู้ป่วยที่ตรวจพบว่าเอ็นร้อยหวายตึง ซึ่งอาจจะทำได้โดยการใช้ท่าดันกำแพงดังรูปประกอบและวิดีโอด้านล่าง หรือใช้ยางยืด (rubber band) ดึงข้อเท้าเข้าหาตัวเพื่อเป็นการยืดเอ็นร้อยหวาย
วิธีการยืดเอ็นร้อยหวาย
https://youtu.be/1IsVkeI38js
การใช้เผือกอ่อนรืออุปกรณ์ช่วยดามข้อเท้าในท่ากระดกขึ้นในช่วงกลางคืน (night splint) สามารถช่วยพังผืดใต้ฝ่าเท้าไม่หดตัวในระหว่างการนอนตลอดคืน มีรายงานทำให้ลดอาการปวดรองช้ำได้
วิธีการยืดเอ็นร้อยหวาย
https://youtu.be/1IsVkeI38js
การใช้เผือกอ่อนรืออุปกรณ์ช่วยดามข้อเท้าในท่ากระดกขึ้นในช่วงกลางคืน (night splint) สามารถช่วยพังผืดใต้ฝ่าเท้าไม่หดตัวในระหว่างการนอนตลอดคืน มีรายงานทำให้ลดอาการปวดรองช้ำได้
การรักษาด้วยการใช้คลื่นกระแทก (Extracorporeal ShockWave Therapy; ESWT)
การใช้รองเท้าที่นุ่มหรือการใช้แผ่นซิลิโคน (Heel cup) เพื่อรองตรงตำแหน่งอุ้งเท้าเพื่อลดแรงกระแทกที่ส้นเท้า
การฉีดยา
การฉีดเกล็ดเลือดความเข้มข้นสูง (Platelet Rich Plasma; PRP)
การฉีดยาสเตียรอยด์ ไม่แนะนำให้ฉีดเนื่องจากงานวิจัยในต่างประเทศได้ทำการศึกษาแล้วว่าไม่ได้ทำให้หาย เพียงแต่ลดอาการในระยะเวลาสั้นๆ แต่มีข้อแทรกซ้อนที่สำคัญ คือ ทำให้ไขมันใต้ส้นเท้าตายหรือทำให้พังผืดใต้ฝ่าเท้าขาดได้
2. การรักษาโดยการผ่าตัด (Surgical Treatment)
การรักษาด้วยการผ่าตัด จะพิจารณาเมื่อการรักษาด้วยการกายภาพบำบัดและการออกกำลังกายแล้วไม่ได้ผล โดยจะประเมิณเมื่อทำการรักษาแบบไม่ผ่าตัดไปแล้วอย่างน้อย 3-6 เดือน
การรักษาด้วยการไม่ผ่าตัดประกอบด้วย
2.1 การผ่าตัดยืดผังผืดใต้ฝ่าเท้า (Plantar fascia release)
โดยสามารถทำได้โดยการผ่าตัดแบบเปิด (open or mini-open techniques) หรือผ่าตัดโดยการส่องกล้อง (endoscopic plantar fascia release technique) โดยทำการผ่าตัดพังผืดใต้ฝ่าเท้าประมาณ 50% ของความกว้างทั้งหมดของผังผืดที่เท้า ทั้งสองวิธีสามารถลดการปวดในกลุ่มที่ล้มเหลวจากการรักษาแบบไม่ผ่าตัด แต่การรักษาแบบเปิดจะได้ประโยชน์ในรายที่ผู้ป่วยมีเส้นประสาทเท้าถูกกด (entrapment of first branch of lateral plantar nerve) ส่วนการผ่าตัดแบบส่องกล้องจะมีประโยชน์ในเรื่องแผลขนาดเล็ก คนไข้ฟื้นตัวเร็วขึ้น แต่ก็จะมีโอกาสที่เส้นประสาทที่เท้าจะได้รับการผ่าตัดแบบส่องกล้อง
2.2 การผ่าตัดยืดเอ็นร้อยหวาย (Gastrocnemius or gastrosoleus lengthening)
เนื่องจากภาวะเอ็นร้อยหวายตึง มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคนี้ และหากไม่รักษาภาวะเอ็นร้อยหวายตึงจะส่งผลให้อาการของโรคนี้เพิ่มมากขึ้น การผ่าตัดยืดเอ็นร้อยหวาย มีรายงานว่าสามารถรักษาโรคพังผืดใต้ฝ่าเท้าอักเสบได้ และการผ่าตัดชนิดนี้ยังมีประโยชน์ในผู้ป่วยที่มีปัญหาเรื่องเท้าแบนเพราะการรักษาแบบผ่าตัดยืดผังผืดใต้ผ่าเท้า ไม่สามารถทำได้เพราะจะทำให้ภาวะเท้าแบนเป็นมากขึ้น
การผ่าตัดยืดเอ็นร้อยหวาย สามารถทำได้โดยการผ่าตัดแบบเปิด (Open technique) ผ่าตัดแผลขนาดเล็ก (Percutaneous technique) หรือผ่าตัดแบบส่องกล้อง (Endoscopic technique)
การผ่าตัดยืดเอ็นร้อยหวายด้วยวิธีการส่องกล้อง
https://www.youtube.com/watch?v=ouyOc21KBwE
การรักษาด้วยการผ่าตัด จะพิจารณาเมื่อการรักษาด้วยการกายภาพบำบัดและการออกกำลังกายแล้วไม่ได้ผล โดยจะประเมิณเมื่อทำการรักษาแบบไม่ผ่าตัดไปแล้วอย่างน้อย 3-6 เดือน
การรักษาด้วยการไม่ผ่าตัดประกอบด้วย
2.1 การผ่าตัดยืดผังผืดใต้ฝ่าเท้า (Plantar fascia release)
โดยสามารถทำได้โดยการผ่าตัดแบบเปิด (open or mini-open techniques) หรือผ่าตัดโดยการส่องกล้อง (endoscopic plantar fascia release technique) โดยทำการผ่าตัดพังผืดใต้ฝ่าเท้าประมาณ 50% ของความกว้างทั้งหมดของผังผืดที่เท้า ทั้งสองวิธีสามารถลดการปวดในกลุ่มที่ล้มเหลวจากการรักษาแบบไม่ผ่าตัด แต่การรักษาแบบเปิดจะได้ประโยชน์ในรายที่ผู้ป่วยมีเส้นประสาทเท้าถูกกด (entrapment of first branch of lateral plantar nerve) ส่วนการผ่าตัดแบบส่องกล้องจะมีประโยชน์ในเรื่องแผลขนาดเล็ก คนไข้ฟื้นตัวเร็วขึ้น แต่ก็จะมีโอกาสที่เส้นประสาทที่เท้าจะได้รับการผ่าตัดแบบส่องกล้อง
2.2 การผ่าตัดยืดเอ็นร้อยหวาย (Gastrocnemius or gastrosoleus lengthening)
เนื่องจากภาวะเอ็นร้อยหวายตึง มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคนี้ และหากไม่รักษาภาวะเอ็นร้อยหวายตึงจะส่งผลให้อาการของโรคนี้เพิ่มมากขึ้น การผ่าตัดยืดเอ็นร้อยหวาย มีรายงานว่าสามารถรักษาโรคพังผืดใต้ฝ่าเท้าอักเสบได้ และการผ่าตัดชนิดนี้ยังมีประโยชน์ในผู้ป่วยที่มีปัญหาเรื่องเท้าแบนเพราะการรักษาแบบผ่าตัดยืดผังผืดใต้ผ่าเท้า ไม่สามารถทำได้เพราะจะทำให้ภาวะเท้าแบนเป็นมากขึ้น
การผ่าตัดยืดเอ็นร้อยหวาย สามารถทำได้โดยการผ่าตัดแบบเปิด (Open technique) ผ่าตัดแผลขนาดเล็ก (Percutaneous technique) หรือผ่าตัดแบบส่องกล้อง (Endoscopic technique)
การผ่าตัดยืดเอ็นร้อยหวายด้วยวิธีการส่องกล้อง
https://www.youtube.com/watch?v=ouyOc21KBwE
2.3 การผ่าตัดเอากระดูกที่งอกออก (Calcaneal spur removal)
จากการศึกษาพบว่า กระดูกที่งอกทำให้เกิดอาการได้ โดยการผ่าตัดเอากระดูกที่งอกออกจะทำให้ความสำเร็จของการผ่าตัดเพิ่มขึ้นได้ โดยการผ่าตัดสามารถทำได้ทั้งผ่าตัดแบบเปิด (Open technique) และผ่าตัดแบบส่องกล้อง (Arthroscopic technique)
การผ่าตัดเอากระดูกงอกออกแบบเปิด
การผ่าตัดเอากระดูกงอกออกแบบส่องกล้อง
วิธีการผ่าตัดกระดูกงอกที่ส้นเท้าและการยืดพังผืดใต้ฝ่าเท้าด้วยวิธีการส่องกล้อง
https://youtu.be/V-mqHapgoys